จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ผู้นำยุคใหม่

บทบาทผู้บริหาร ผู้นำในยุคใหม่

         ภาระหน้าที่และลักษณะงานของผู้บริหาร ภาระหน้าที่หรือลักษณะงานของผู้บริหารที่จะต้องทำมีหลากหลายดังนี้
หน้าที่ของผู้บริหาร (Management Functions) เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดกระบวนการจัดการ
-Planning (การวางแผน)
-Organizing (การจัดองค์การ)
-Commanding (การสั่งการ)
-Coordinating (การประสานงาน)
-Controlling (การควบคุม)
          หน้าที่ดังกล่าวเป็นหลักการเบื้องต้นและได้รับความนิยมตลอดมาจนกระทั่งได้สรุปดังกล่าวเหลือ 4 อย่างคือ
         การวางแผน (Planning) เป็นการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์ต่าง ๆ และจัดทำแผนงานเพื่อประสานกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะกระทำในอนาคต เป็นการเตรียมการเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
         การจัดองค์การ (Organizing) เป็นการพิจารณาถึงงานที่จะต้องกระทำ ใครเป็นผู้ทำงานนั้น ๆ ต้องมีการจัดกลุ่มงานอย่างไร ใครต้องรายงานใคร และใครเป็นผู้ตัดสินใจ นั่นคือการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ กำหนดสายการบังคับบัญชา
         การชักนำ (Leading) เป็นการนำและจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา การสั่งการ การเลือกช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และการขจัดความขัดแย้ง หรือเป็นการกระตุ้นให้พนักงานใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ รวมทั้งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
        การควบคุม (Controlling) เป็นการตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้กระทำไว้ เพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ รวมทั้งแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้ถูกต้องอีกด้วย
       การบริหารในแนวทางปฏิบัติถือว่าเป็นศิลป์ (art) ส่วนองค์ความรู้ที่สำคัญเพื่อนำมาปฏิบัติหรือศาสตร์ (science) ซึ่งได้มีการพัฒนาโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาการทางด้านทฤษฎีการจัดการเป็นเนื่องมาจากการพัฒนาแนวความคิด (concepts) หลักการ (principles) และเทคนิค (techniques) ต่าง ๆ
หลักการบริหารหรือการจัดการถือเป็นสากล (Universality) คือสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์การทุกรูปแบบ และทุกระดับขององค์การ นั่นคือ ผู้บริหารทุกคนจะต้องมีหน้าที่ 4 อย่างที่กล่าวข้างต้น (POLC) แต่ลำดับของการทำหน้าที่ทางการจัดการแต่ละตัวที่นำไปใช้จะแตกต่างกันในแต่ละตัวที่นำไปใช้นั้นจะแตกต่างกันในแต่ละองค์การ เช่น บางแห่งใช้การวางแผนมากกว่าที่อื่น ๆ บางแห่งใช้ในเรื่องการจัดการองค์การมากกว่าหน้าที่อื่น ๆ
        ดังนั้น กระบวนการจัดการ (Management process) จึงเป็นการตัดสินใจและกิจกรรมที่กระทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องมีการวางแผน การจัดองค์การ การชักนำ และการควบคุบ

        ที่มาของบทความ : http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/L4/4-3-1.htm

ไม่มีความคิดเห็น: