จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภาวะความเป็นผู้นำนะ นักบริหาร

      คำนิยาม นักบริหารมืออาชีพ
นักวิชาการได้ให้นิยามของคำว่านักบริหารมืออาชีพไว้ พอสรุปได้ดังนี้ 
1. นักบริหารมืออาชีพ คือ นักบริหารที่บริหารองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยพลังของภาวะผู้นำ (Leadership forces)
 จันทนา สุขุมานันท์ รองประธานของปูนซีเมนต์ไทย ได้กล่าวถึง (2 ตค2548 11.30 PM แมกไม้บริหาร UBC ) การบริหารจัดการในรูปแบบของนักบริหารจัดการองค์การ ทีต้องการให้องค์การนั้นต้องมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ต้องวางแนวความคิดในด้านการบริหารจัดการภายในองค์การรวมทั้งการมีภาวะผู้นำที่ดี
1) การสร้างความเชื่อมโยงแบบพันธมิตร  (Organizational Alliance = OA) ผู้บริหารจัดการต้องยึดหลักของการสร้างความเชื่อมโยงถ่ายทอดข่าวสารให้บุคลากรในระดับต่าง ๆ ร่วมรับรู้ข้อมูลที่เป็นขององค์การ  การจัดการระบบการรับรู้ข่าวสารข้อมูลนี้เพื่อประโยชน์ในด้านการมองภาพขององค์การให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถตอบคำถามให้แก่ผู้อื่นได้ นอกจากนี้การสื่อสารที่ดียังมีผลทางด้านจิตวิทยาเพราะสามารถปลุกระดมให้ทุกคนมีความคิดไปในทิศทางเดียว การให้ข้อมูลข่าวสารเปรียบเสมือนกับการทำการตลาดภายในองค์กรนั้น ๆ ให้บุคลากรได้ทำความเข้าใจ กับแนวการบริหารงานขององค์การนั้น (Organizational design)
2) การนำสู่การเปลี่ยนแปลง (Leading Organization through Transformational Change = LOTC) ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงคือผู้ที่เข้าใจความต้องการขององค์การเพื่อตอบคำถามต่าง ๆ เช่น  ต้องการอะไร การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มจาก  รู้ว่าจะเริ่มต้นตรงไหนด้วยกระบวนการต่าง ๆ  เพื่อให้ได้ความต้องการนั้น ๆ ให้เป็นจริง ให้หลักยุทธศาสตร์การสนทนา (Strategic conversation) เพื่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทีมงาน มีการเจรจาหาข้อตกลงในการดำเนินการเพื่อให้ไปถึงจุดหลายที่วางไว้ สร้างกระบวนการทำงานด้วยกัน สำหรับในด้านลูกค้าองค์การต้องเข้าใจจิตวิทยาการบริโภคสินค้าของกลุ่มเป้าหมายเพื่อแสวงหาความต้องการของลูกค้า ผู้นำต้องมองตลาดภายนอกได้ สร้างความแตกต่างเพื่อการแข่งขัน เพื่อการได้เปรียบ ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน
3) ศึกษาสิ่งแวดล้อมที่เป็นทรัพยากรและเครื่องมือในการทำงาน (Resource and tools) การบริหารองค์การต้องศึกษาทรัพยากรที่มีอยู่ ที่เป็นเครื่องมือในการดำเนินการขององค์การ ทรัพยากรด้านเครื่องมือเป็นปัจจัยที่ทำให้รู้ว่าองค์การมีความพร้อมและมีศักยภาพในการทำกิจการประเภทใด และทรัพยากรที่มีอยู่นั้นมีการบำรุงรักษาให้คงสภาพการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) ศึกษาศักยภาพขององค์กร (Organizational Competencies = OC) ว่ามีความสามารถหรือมีคุณภาพที่จะปฏิบัติงานได้ดี ต้องศึกษาว่าควรต้องเสริมส่วนที่เป็นช่องว่าง เช่น เพิ่มเติม หรือต้องฝึกอบรมทักษะใหม่ ๆ องค์กรขาดอะไร ต้องมีความรู้เพิ่มเติมในด้านใด ศักยภาพของบุคลากรต้องสมดุลกับทรัพยากรที่เป็นเครื่องมือปฏิบัติงานขององค์การด้วย องค์การต้องจัดให้มีการประเมินเพื่อการพัฒนา โดยมีการประเมินตนเอง เพื่อนประเมิน นายประเมิน ลูกน้องประเมิน (Personal Development Index = PDI)
5) สร้างแรงจูงใจ (Employee Motivation Performance = EMP) การสร้างความรู้สึกสนุกกับการทำงานให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุข รักองค์กร มีความกระตือรือร้นในการทำงาน ไม่ใช่มาทำงานเพื่อเงิน คนที่ทำงานเพื่อองค์กร จะพยายามพัฒนาตนเอง  ผู้บริหารในฐานะนำต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน คือรู้ว่าต้องการอะไร และจะทำอย่างไรจึงจะสัมฤทธิผล สื่อสารให้ทุกคนรู้ ประเมินสภาพแวดล้อม รู้ศักยภาพขององค์กร กระตุ้นให้องค์กรขับเคลื่อนด้วยการจูงใจ
2. นักบริหารมืออาชีพ คือ นักบริหารที่สร้างคุณค่าเพิ่ม (Value-added Managers = VM)

              ในการบริหารงานในปัจจุบันทุกองค์การใช้ประสิทธิภาพของตัวผลผลิตเป็นตัวแสดงผลสัมฤทธิ์ขององค์การและมักจะเป็นตัววัดเปรียบเทียบของการบริหารจัดการและความสำเร็จขององค์การ ในยุคปัจจุบันนี้การบริหารงานไม่ใช่เพียงแต่ให้งานเสร็จลุล่วงไปเท่านั้น แต่งานที่ทำต้องเป็นผลงานที่ดีที่สุดมีความคุ้มค่าเหมาะสมกับทรัพยากรที่ใช้ซึ่งก็คือ คนและวัสดุอุปกรณ์ (man and material)
การสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่การบริหารจัดการเป็นบทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารซึ่งเป็น ผู้ที่คำนึงถึงการที่จะวางรูปแบบของงานเป็นหลักในขณะที่ภาวะผู้นำเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ที่ผู้บริหารควรจะต้องมีความเป็นผู้นำ ต้องวางกลวิธีที่จะให้บุคคลในองค์การเข้าเคลื่อนตัวเข้ามาสู่การปฏิบัติงานตามที่กำหนดไว้ ผู้บริหารที่ดีจะสร้างและวางเงื่อนไขจำเป็นเพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจในผลผลิตรับสูง เพื่อทำให้ได้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำงาน เป็นการปฏิบัติงานเพื่อหน่วยงานของตนและเพื่อองค์การโดยส่วนรวม สิ่งเหล่านี้ต้องการความร่วมมือร่วมใจและพร้อมที่จะเข้าร่วมทำงานเพื่อความสำเร็จ อันเป็นการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติงานของบุคคลแต่ละคนรวมกันเป็นผลงานของหน่วยงานและขององค์การ โดยมีตัวชี้วัดสองประการซึ่ง วูด (Wood, 2001) กล่าวไว้ ประการแรก คือ ประสิทธิภาพของการปฏิบัติการ ซึ่งวัดได้จากการให้ความสำคัญของเป้าหมายของงานที่บรรลุถึงได้ และประการที่สองคือ ประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน ซึ่งวัดได้จากการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

ไม่มีความคิดเห็น: