จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ข้อมูลเชิงลึกเปิดเสรี LOGISTICS รับ AEC

          การเปิดเสรีโลจิสติกส์ ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือAEC เริ่มถูกกล่าวถึงถี่ขึ้นมากในช่วงหลายปีมานี้ เหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวก็ด้วยความเป็นห่วงว่า ธุรกิจไทยจะเสียเปรียบในแง่ของการแข่งขัน เพราะทุกวันนี้ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยค่อนข้างสูง แม้ปี 2554 ที่ผ่านมา เราจะวางเป้าหมายในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ให้เหลือ 16% ต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ (จีดีพี) แต่ปัจจุบันก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยยังคงอยู่ที่ 18.6% เมื่อหันไปดูต้นทุนโลจิสติกส์ของชาติอื่นอาทิชาติในอาเซียนด้วยกันอย่างประเทศมาเลเซียต้นทุนโลจิสติกส์อยู่ที่ 13% สิงคโปร์ 7% ถัดออกไปในภูมิภาคเอเชีย อินเดียอยู่ที่ 13% ญี่ปุ่น10.5% ขณะที่กลุ่มประเทศในแถบยุโรป เฉลี่ยอยู่ที่ 11% และสหรัฐ อยู่ที่ 9.5% ยิ่งไปกว่านั้นผู้ประกอบการในธุรกิจโลจิสติกส์ของไทยกว่า 70% เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก หรือเอสเอ็มอี เลยกลายเป็นเป้าใหญ่ที่หลายฝ่ายมองว่าเป็นจุดอ่อน หากเปิดเสรี 100% ปล่อยให้ทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย ภายใต้กรอบAECในปี 2558 เอสเอ็มอีก็ยากจะอยู่รอด ในความเป็นจริงสถานการณ์ไม่ได้น่ากลัวถึงขั้นนั้น ทุกวันนี้ถึงผู้ประกอบการโลจิสติกส์ของไทยส่วนใหญ่จะเป็นเอสเอ็มอีมีต่างด้าวเพียง 30% แต่ถ้าดูทุนจดทะเบียนรวมก็จะพบว่า ทุนของกลุ่มต่างด้าวคิดเป็นสัดส่วนถึง 52% ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด แต่กลุ่มเอสเอ็มอีก็ยังอยู่ได้

           นอกจากนี้ การเปิดเสรีโลจิสติกส์ของไทยก็จำกัดทุนต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้ไม่เกิน 70% ซึ่งจะเริ่มในปี 2556 และยังไม่ได้มีการเจรจาจะขยายการถือหุ้นให้มากกว่านี้ โดยปัจจุบันในอาเซียนของเรามีเพียงสิงคโปร์ เวียดนาม และกัมพูชา ที่เปิดรับทุนต่างชาติเข้ามาในกิจการโลจิสติกส์ 100%ดังนั้นถ้าอนาคตไทยจะเดินรอยตาม 3 ประเทศนี้ก็เชื่อว่าไม่น่าเป็นห่วงเช่นกันตรงกันข้าม การเปิดเสรีจะช่วยพัฒนาโลจิสติกส์ในไทยให้มีศักยภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเอื้ออ่านวยประโยชน์ต่อการเปิดเสรีภาคการค้าที่เปิดไปก่อนหน้านี้แล้วให้เกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้น

ข้อดีข้อแรก คือ แนวโน้มต้นทุนโลจิสติกส์จะถูกลง จากตัวเลือกการให้บริการที่มีมากขึ้นกว่าเดิม

ข้อต่อมา แม้จะเป็นผู้ประกอบการทุนหนา แต่ความเชี่ยวชาญในเรื่องของเส้นทางการให้บริการก็ยังต้องอาศัยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเจ้าถิ่นเข้ามารับช่วงงานต่ออยู่ดี รายใหญ่ไม่สามารถทาเองได้ทั้งหมด ช่วยให้เกิดการจ้างงาน กระจายรายได้มากกว่าเก่า

ข้อดีข้อที่สาม ประเทศไทยได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่กลางอาเซียน หากโลจิสติกส์ของไทยสามารถรองรับความต้องการใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะช่วยดึงฐานลูกค้าเข้ามาเพิ่มได้ แน่นอนว่า ทุนต่างชาติที่เข้ามาหาก็ต้องเน้นการสรรหาลูกค้ามาใช้บริการด้วย นั่นหมายถึงเงินไหลเข้าจำนวนมหาศาล เฉกเช่นที่สิงคโปร์เป็นผู้นำอยู่ในเวลานี้สุดท้าย คือ เทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ที่ทันสมัยจะเข้ามาสู่ประเทศไทยเช่นกัน ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ไทยต้องการอย่างมาก เพื่อการพัฒนาตัวเองในระยะยาว

          ปัจจุบันเปรียบเทียบชาติอาเซียนด้วยกันสิงคโปร์เป็นชาติที่มีศักยภาพด้านโลจิสติกส์เป็นอันดับ 1 รองลงมาเป็น มาเลเซีย ส่วนไทยอันดับ3 ตามด้วยฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอินโดนีเซียโดยประเทศที่กำลังมาแรงคือ เวียดนาม ถ้าไทยไม่ขยับตัวโอกาสถูกเวียดนามแซงมีความเป็นไปได้สูง อย่างไรก็ดี การเตรียมความพร้อมรับกับการเปิดเสรีโลจิสติกส์ กลุ่มเอสเอ็มอีของไทยต้องรวมกลุ่มกันให้ได้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งสร้างอำนาจต่อรองกับผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยดำเนินการรวมกลุ่มกันเอง เพราะเป็นผู้ที่อยู่ในวงการโดยตรงรู้และเข้าใจศักยภาพของกลุ่ม จะทำให้การวางทิศทางการพัฒนาเป็นไปอย่างถูกทางได้อย่างสมบูรณ์ไม่ควรให้ภาครัฐเข้ามาเป็นแกนนา แต่ให้รัฐทาหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุนส่งเสริม ด้วยการช่วยเหลือในการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ให้เอื้ออ่านวยความสะดวกในขั้นตอนการปฏิบัติ โดยเฉพาะลดขั้นตอนการขอใบอนุญาตระเบียบเอกสารต่างๆ จากหลายหน่วยงาน ร่นระยะทางการติดต่อ แทนที่เอกชนจะต้องเสียเวลาเดินทางไปติดต่อเรื่องเอกสารหลายๆที ก็ติดต่อ ณ จุดเดียว แต่ได้ครบทุกใบอนุญาตจากหลายหน่วยงาน

         ยกตัวอย่าง ที่ประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซียใช้ระบบ Single Window สินค้าใดๆ ก็ตามที่จะขนย้ายผ่านเข้าออกที่ด่านไหน ด่านนั้นสามารถให้บริการด้านเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น สินค้าอาหารปกติต้องตรวจสอบใบอนุญาตความปลอดภัยมาตรฐานสินค้า มาตรฐานด้านการเกษตร เป็นต้นรวมแล้วก็กว่า 20 แผนก ที่ต้องวิ่งไปติดต่อ แต่ระบบดังกล่าวสามารถตรวจเช็กข้อมูลได้ครบหมด โดยเชื่อมเครือข่ายไอซีทีถึงกันไม่ต้องให้ทุกหน่วยงานส่งคนมา ทำให้นอกจากร่นเวลาแล้วยังประหยัดค่าเดินให้เอกชน และประหยัดต้นทุนของภาครัฐด้วยเช่นกัน แต่การที่จะทาจุดนี้ได้ รัฐต้องยอมลงทุนพัฒนาซอฟต์แวร์ให้รองรับการทำงานได้อย่างสมบูรณ์ก่อน ยิ่งไปกว่านั้น หน่วยงานรัฐจำเป็นต้องปรับกระบวนการทำงาน เปลี่ยนบทบาทจากการกำกับควบคุม หันมาเน้นส่งเสริม อ่านวยความสะดวกภาคเอกชน ภายใต้กฎระเบียบที่มีความเอกภาพ

          สุดท้าย คือ การวางนโยบายระดับชาติเพิ่มเส้นทางคมนาคมขนส่ง ทั้งระบบราง ถนน และทางน้ำ เชื่อมออกสู่ประเทศเพื่อนบ้านให้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ โอกาสที่โลจิสติกส์ไทยจะขึ้นไปเทียบชั้นสิงคโปร์ มาเลเซีย ก็ไม่เกินเอื้อมแน่นอน




ที่มา:http://www.thai-aec.com/438#more-438

ไม่มีความคิดเห็น: